คำแถลงนโยบายการบริหารราชการของนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว
นายตระกูล สุขกุล
แถลงต่อสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว
เมื่อวันจันทร์ ที่ ๙ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๘ เวลา ๑๐.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ชั้น ๓ สำนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว
************************************************
เรียน ท่านประธานสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ท่านรองประธานสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว และ ท่านสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ทุกท่าน
ตามที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว และนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๑ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งกระผม นายตระกูล สุขกุล ต้องขอขอบพระคุณพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสระแก้วทุกท่าน ด้วยความจริงใจ ที่ทุกท่านได้มอบความไว้วางใจให้กระผม มาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว อีกสมัย นั้น
ซึ่งในช่วงระยะเวลา ๔ ปีต่อจากนี้ไป กระผมจะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทุ่มเท ที่จะพัฒนาเทศบาลเมืองสระแก้วในทุกมิติให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โปร่งใส มีแบบแผน ตามครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งกรอบอำนาจหน้าที่ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจะนำเอาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทั้งหลายที่มีมาบริหารงาน และขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อนำพาเทศบาลเมืองสระแก้วไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างสรรค์สู่มาตรฐานสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ " เทศบาลเมืองสระแก้ว เมืองแห่งความน่าอยู่ พัฒนาสู่สังคมคุณภาพ " ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องอื่นทั้งในเขตพื้นที่ และนอกเขตพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนให้กับประชาชน ตลอดจนดำเนินงาน โครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติเป็นหลัก เพื่อให้การบริหารงาน ของเทศบาลเมืองสระแก้ว มีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสระแก้ว ตลอดจนแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับต่าง ๆ
บัดนี้ กระผม และคณะผู้บริหาร ได้กำหนดนโยบาย การบริหารงานของเทศบาลเมืองสระแก้ว โดยขอเรียนให้ท่านสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบาย ที่มุ่งมันจะสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ทั้ง ๕ ด้าน ดังนี้
๑. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวนโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มุ่งยกระดับมาตรฐานทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย และสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเทศบาลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมโดยพัฒนาด้านการก่อสร้างและปรับปรุงถนนภายในเขตเทศบาลให้มีมาตรฐานและความปลอดภัย ติดตั้งปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าส่องสว่างข้างทาง การขยายเขตประปา การวางผังเมือง การแก้ปัญหาการจราจร และทางเท้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ดังนี้
๑.๑ ด้านสาธารณูปโภคและการจราจร
(๑) วางระบบผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่างมีทิศทางและเหมหาะสม (๒) พัฒนาขยายเขตประปาให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล (๓) สร้าง และพัฒนาระบบสาธารณูปการอื่นๆ ให้เพียงพอ และมีความสมบูรณ์ ทั้งไฟฟ้า ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ทางระบายน้ำ ถนน ตรอก ชอย ศาลาที่พักผู้โดยสาร รวมถึงแนวทางการบำรุงรักษาด้วย (๔) พัฒนาระบบจราจรเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และรองรับความเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต (๕) การจัดการ การดำเนินงามกิจการขนส่งซึ่งชื่นกิจการถ่ายโอนให้สมบูรณ์ขึ้น
๑.๒ ด้านการบริหารจัดการน้ำ
(๑) วางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ (๒) ปรับปรุง แหล่งนํ้าสาธารณะประโยชน์ เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค และการเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (๓) สร้างและปรับปรุงระบบระบายน้ำให้เป็นระบบ และเป็นขั้นตอน
๒. นโยบายด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม
แนวนโยบายด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ สร้างความมั่นคง สร้างโอกาส โดยการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยในเขตเทศบาลสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม พัฒนาให้ประชาชนในเขตพื้นที่ให้มีที่อยู่อาศัย เข้าถึงโอกาสในการบริการสาธารณะของรัฐ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ร่วมพัฒนา แก้ไขปัญหา และเฝ้าระวังปัญหาทางสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนี้
๒.๑ ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาพยาบาล
(๑) จัดบริการพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะผู้มีฐานะยากจนสามารถเข้าถึงแพทย์ได้อย่างสะดวกเพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์ (๒)ขยายและพัฒนาศักยภาพในการรักษาพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล ให้สามารถรองรับความต้องการของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) เพิ่มประสิทธิภาพด้านการสาธารณสุข ให้บริการตรวจรักษาพยาบาลแก่ประชาชนได้อย่างทั่่วถึง จัดหาเวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และจัดหาแพทย์มาตรวจ รักษาพยาบาลประชาชน และบริการออกหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ (๔) สร้างมาตรการป้องกัน และระงับโรคติดต่อ ทั้งคนและสัตว์ อย่างเร่งด่วน (๕) การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงให้กับประชาชน
๒.๒ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวขน ผู้สูงอะยุ พิผู้พิการ
(๑) สร้างงานเพื่อสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชน โดยการส่งเสริมอาชีพสนับสนุบสนุน เพื่อการประกอบอาชีพและแก้ไขปัญหาความยากจน (๒) ส่งเสริมให้ดำเนินการร้านค้า OTOP เพื่อจำหน่ายสินค้า ราคาต้นทุนให้กับชุมชน เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจชุมชน (๓) สร้างชุมชนต้นแบบเป็นตัวอย่างในการพัฒนาชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว
๒.๓ ด้านการสังคมสงเคราะห์
(๑) ผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยเอดส์ได้รับการส่งเสริมเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้กรอบงบประมาณของเทศบาลเมืองสระแก้ว (๒)จัดตั้งดำเนินการกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ให้กับชุมชน
๓. นโยบายต้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการเกษตร
แนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นให้เป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอย สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะต้นทาง โดยมุ่งเน้นการจัดการขยะที่ครัวเรือนและชุมชน สร้างเครือข่ายอาสมัครด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะชุมชนให้รับรู้ปัญหาร่วมกัน เกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ส่งเสริมให้เกิดชุมชนไร้ถังขยะ ดังนี้
๓.๑ ด้านสิ่งแวดล้อม
(๑) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสุขาภิบาลในเขตเทศบาล เช่น การทำความสะอาดถนน การกำจัดขยะมูลฝอย การรักษาความสะอาดตลาดสด ส่งเสริมให้ร้านค้า ร้านอาหาร ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาด (๒) ปรับปรุงการจัดการขยะมูลฝอย แบบครบวงจร การลดปริมาณขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ด้วยหลักการ ๓R มีการรวบรวมและจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีขยะตกค้างในชุมชมชนนำไปสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล (๓) การสร้างระบบและดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การกำจัดฝุ่นละออง กลิ่น เสียง รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองให้มีความดุล เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลให้มากยิ่งขึ้น (๔) ปรับปรุงและพัฒนาสวนสาธารณะเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อน ออกกำลังกาย ที่มีความสวยงาม ปลอดภัย และสะดวกสบาย (๕) การสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
๓.๒ ด้านการเกษตร
(๑) ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารเคมี (๒) ส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพร สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ตรงกับความต้องการของตลาด
๔. นโยบายด้านการศึกษา การกีฬา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
แนวนโยบายด้านกรศึกษาและวัฒนธรรรม มุ่งสร้างและยกระดับมาตรฐานการศึกษาทุกระทั้งในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาตามศักยภาพอย่างเท่าเทียมกัน สร้างการศึกษาที่มีมาตรฐาน จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พัฒนาระบบการจัดการศึกษาอัจฉริยะ (Smart Education) นำใช้เทคโนโลยีการศึกษาอัจฉริยะไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน การออกแบบ และการปรับปรุงหลักสูตร การยกระดับสื่อการเรียนการสอน และปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ก่อสร้าง ปรับปรุงสถานที่ออกกำลังกายในร่มและกลางแจ้ง ภายใต้การดำเนินการของเทศบาล ดังนี้
๔.๑ ด้านการจัดการศึกษา
(๑) การส่งเสริมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้สมบูรณ์มีความพร้อม เพียงพอและครอบคลุมพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อนเข้าสู่ระดับปฐมวัย (๒) การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในเขตเทศบาลให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาลตามศักยภาพ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษานำเทคในโลยีสารสนเทศ สื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กและการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา (๔) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลถึงคุณภาพผู้เรียนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ (๕) การจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงเรียนได้
๔.๒ ด้านการกีฬา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการท่องเที่ยว
(๑) ส่งเสริมฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (๒) ส่งเสริมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา งานประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น งานลอยกระทง วันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ (๓) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ
๕. นโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดีและการบริการสาธารณะ
แนวนโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดีและการบริการสาธารณะ เทศบาลมุ่งเน้นการบริหารงานภายใต้กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย ยึดหลักธรรมาภิบาล สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการในการบริหารจัดการเพื่อพลิกโฉมเทศบาลให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มุ่งนำพาองค์กรให้เกิดการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ มีการวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา การติดตามและประเมินผล พัฒนาบุคลากรให้ปรับเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด ปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีทักษะ คุณลักษณะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสามารถในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกและมองไปข้างหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างคุณค่าให้กับเทศบาล ปรับปรุงให้สำนักงานเทศบาลเข้าสู่องค์กรสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริการเพื่อความคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็ว สนองตอบต่อปัญหาและทันต่อเหตุการณ์ ดังนี้
๕.๑ ด้านการบริหาร
(๑) พัฒนาระบบการทำงานโดยส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการประชาชน ได้สะดวก แม่นยำ และรวดเร็ว (๒) มุ่งเน้นการบริหารงานเทศบาลโดยใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆของเทศบาล (๓) สนับสนุนค่านิยมขององค์กรในการบริการประชาชนด้วยจิตสาธารณะ การปฏิบัติงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ การทำงางานร่วมกันเป็นทีม และการมุ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (๔) เพิ่มศักยภาพในการให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน พัฒนาช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การให้บริการ การแจ้งข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ได้ง่ายและสะดวกขึ้น
๕.๒ ด้านการพัฒนาบุคลากร และการวางแผนพัฒนาเทศบาล
(๑) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และมีวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (๒) ลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการเพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส เน้นผลสัมฤทธิ์ประชาชนส่วนร่วมและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้รับบริการ (๓) พัฒนาส่งเสริมระบบสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความรักผูกพันเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (๔) ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน การให้บริการ กระบวนการวางแผน การคิดและการตัดสินใจ เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๕) บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
๕.๓ ด้านการปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติราชการ วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยี
(๑) ปรับปรุงอาคาร สถานที่ปฏิบัติราชการ วัสดุ อุปกรณ์หน่วยงานให้มีความเหมาะสมสะดวก มีความคล่องตัวในการให้บริการประชาชน ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาให้บริการประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (๒) ประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน สถานที่ราชการ ป้องกันอาชญากรรม พร้อมทั้งจะดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามชุมชนหนาแน่นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว (๓) เตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติการในสถานการณ์ฉุกเฉิน อุบัติภัย ภัยธรรมชาติ เช่น จัดเตรียมบุคลากร รถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ต่างๆ ให้เพียงพอและมีความพร้อมตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๕.๔ ด้านการคลังและงบประมาณ
(๑) ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส รวดเร็วและครอบคลุม (๒) จัดระบบวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปโดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและมีวินัยทางการคลัง (๓) การสร้างระบบการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน (๔) มุ่งเน้นการบริการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวกและความพึงพอใจแก่ประชาชน
๕.๕ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนทั้ง ๒๑ ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชน (๒) สร้างความร่วมมือสามัคคีในหมู่ประชาชน และส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้ระบอบประชาธิบไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ท่านประธานสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ท่านรองประธานสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ท่านสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ที่เคารพทุกท่าน การบริหารงานของเทศบาลเมืองสระแก้ว ในห้วงระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้ไปจนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกระผมนั้น กระผมจะยึดหลัก "ธรรมาภิบาล" เป็นแนวทางในการบริหารงาน ซึ่งการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวข้างต้น จะสัมฤทธิ์ผลไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากพี่น้องประชาชนชาวเทศบาลเมืองสระแก้วทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้วทุกท่าน กระผมและคณะผู้บริหาร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และการสนับสนุน จากทุกท่านในการทำงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ของพี่น้องประชาชนชาวเทศบาลเมืองสระแก้ว ตามนโยบายที่ได้แถลงต่อสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว ขอบคุณครับ
ตระกูล สุขกุล
(นายตระกูล สุขกุล)
นายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว |